ทางแพทย์แผนปัจจุบัน พบว่าการฝังเข็มทำให้เกิดการหลั่งสารต่างๆในร่างกาย เช่น เอนดอร์ฟิน เซโรโทนิน และสารสื่อประสาทอื่นๆ มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ช่วยระงับอาการปวดและอักเสบ และลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
ทางแพทย์แผนจีน เชื่อว่าการฝังเข็มทำให้ระบบการไหลเวียนลมปราณในร่างกายดีข้ึน มีผลต่อการปรับสมดุลภายในร่างกาย ทำให้อาการเจ็บป่วยลดลง
การฝังเข็มคืออะไร
การฝังเข็มมีทั้งแบบแผนตะวันตกและแผนจีน โดยใช้เข็มตันขนาดเล็ก แทงผ่านผิวหนังเข้าไปในกล้ามเนื้อตามตำแหน่งของจุดฝังเข็มหรือตามบริเวณจุดกดเจ็บในร่างกาย ครั้งละ 1 เข็มหรือมากกว่า จากนั้นถอนเข็มออกทันทีหรืออาจคาเข็มไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วถอนออก โดยไม่มีการใช้ยา
การรักษาโดยฝังเข็มเหมาะสำหรับใคร
โรคกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ เช่น ปวดคอ ปวดบ่า และปวดหลังในออฟฟิศซินโดรม หรือ myofascial pain syndrome
อาการปวดกล้ามเนื้อสะโพกหรือขาที่พบร่วมในโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท
อาการปวดเข่าในโรคข้อเข่าเสื่อม
ระยะเวลาการรักษา
การฝังเข็มแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ลดอาการปวดได้ 2 สัปดาห์
หากเป็นโรคเรื้อรังอาจต้องฝังเข็มต่อเนื่องระยะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับกลุ่มโรคที่เป็นและการพิจารณาโดยแพทย์
ข้อห้ามในการฝังเข็ม
ตั้งครรภ์
ผู้ป่วยที่รับประทานยาละลายลิ่มเลือด เช่น วาร์ฟาริน (warfarin)
ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด
การเตรียมตัวก่อนรับการฝังเข็ม
รับประทานอาหารตามปกติและไม่มากจนเกินไป เนื่องจากหากผู้ป่วยหิว อ่อนเพลียหรือแน่นท้องมากขณะฝังเข็ม จะมีโอกาสหน้ามืด เวียนหัว เป็นลมได้
พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมสบาย ไม่รัดแน่น
留言